Blog > ฟีเจอร์ > ไม่ปรับ ระวังพัง! 5 แนวโน้มสำคัญในตลาด E-Commerce ของไทย ปี 2025

ไม่ปรับ ระวังพัง! 5 แนวโน้มสำคัญในตลาด E-Commerce ของไทย ปี 2025

โอ๊ต 09 เม.ย. 2025 03:48

ตลาด E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงปี 2022 – 2024 ยังคงร้อนแรงไม่มีแผ่ว ด้วยมูลค่าที่พุ่งทะลุ 5.56 ล้านล้านบาทในปีเดียว (2024) — และประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า ยืนหนึ่งในอันดับ 2 ของภูมิภาค ด้วยสัดส่วนตลาดถึง 16.4% โดย ธนวัฒน์ มาลาบุปผา ซีอีโอแห่ง Priceza ฟันธง ภายในปี 2030 ภูมิภาคนี้จะโตทะยานไปถึง 13 ล้านล้านบาท และไทยเองมีโอกาสโตจาก 1 ล้านล้านบาทในปี 2024 ไปแตะ 2 ล้านล้านบาท! ฉะนั้นมาดูกันว่าปี 2025 นี้ แนวโน้มใดน่าจับสนใจ น่านำมาปรับใช้ กันบ้าง?

แนวโน้มที่ 1: การเติบโตของ Affiliate Commerce

Affiliate Commerce กำลังกลายเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ของตลาด E-Commerce ไทยในปี 2025 โดยข้อมูลระบุว่ามีคนไทยที่เป็นครีเอเตอร์มากถึง 9 ล้านคน และ 83% ของผู้บริโภคชาวไทยยอมรับว่าซื้อสินค้าตามคำแนะนำของ Influencer เพราะเนื้อหาที่มีคุณภาพจะช่วยกระตุ้นยอดขายอย่างเป็นรูปธรรม แบรนด์จึงแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อคว้าครีเอเตอร์เก่ง ๆ มาเป็นพาร์ตเนอร์หลักในปีนี้

แนวโน้มที่ 2: การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยร้อนแรงขึ้น!

การไหลเข้าของผู้ขายจากต่างประเทศ ทำให้การแข่งขันดุเดือด ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับ "คูปอง, ส่วนลด, และค่าจัดส่งฟรี" ซึ่งกระตุ้นให้ร้านค้าออนไลน์ต้องหาวิธีสู้ราคากับผู้เล่นจากต่างชาติ

โดยปัจจุบันมีผู้ขายใน Shopee, Lazada และ TikTok รวมกันกว่า 3 ล้านราย และมีสินค้ามากกว่า 300 ล้านรายการ ซึ่งจำนวนมากมาจากจีน ที่หันมาเปิดร้านเองในไทยแทนผ่านตัวแทนจำหน่าย

แนวโน้มที่ 3: E-Commerce Listening

E-Commerce Listening หรือการ "ฟังเสียงตลาด E-Commerce" กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้ขายไทย เพื่อสู้กับคู่แข่งต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ขายจากจีนที่ขายถูกกว่าถึง 30% และครองยอดขายสูงสุดถึง 95% ในบางหมวดหมู่ การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada และ TikTok ทำให้ร้านค้าสามารถวิเคราะห์คู่แข่ง พฤติกรรมลูกค้า และแนวโน้มตลาดได้แม่นยำขึ้น พร้อมค้นหาไอเดียสินค้าใหม่ ๆ ที่อาจยังไม่มีใครทำ

แนวโน้มที่ 4: โมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้น

เมื่อการแข่งขันสูงขึ้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็ได้เริ่มเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ จาก Marketplace แบบเดิม ไปสู่โมเดลเฉพาะทาง เช่น Vertical Marketplace การโฟกัสสินค้าหมวดเฉพาะ แบบที่ NocNoc และ HomePro ขายสินค้าของแต่งบ้านเป็นหลัก, Central และ Konvy ที่เด่นด้านการขายสินค้าประเภทแฟชั่น & บิวตี้

หรือแม้แต่แพลตฟอร์มเองยังเป็นคนจัดการสต๊อกสินค้าและการตลาดเอง (Consignment Selling) เช่น Temu, Shopee Choice, Lazada Choice นอกจากนี้แบรนด์ไทยเริ่มหนีออกจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ หันไปทำแอปของตัวเอง เพื่อเลี่ยงค่าธรรมเนียม และได้ข้อมูลลูกค้าเต็ม ๆ

แนวโน้มที่ 5: แข่งจัดส่งเร็ว ระดับปีศาจ!”

ในปี 2025 ผู้บริโภคต้องการความเร็วแบบสุดขีด ใครจัดส่งได้เร็วกว่าเท่ากับได้เปรียบ! ทำให้ร้านค้าต่าง ๆ จึงเน้น "การจัดส่งตามสั่งแบบทันที" (On-Demand Delivery) เช่น 7-Eleven, Lotus’s Online, Makro Pro, Tops และ BigC ต่างเปิดบริการส่งสินค้าภายในวันเดียว ในฝั่งสินค้า IT แบรนด์ดังอย่าง BANANA, Advice และ JIB ส่งถึงภายใน 1-3 ชั่วโมง หากสั่งตรงจากเว็บ

แม้แต่ Shopee ก็เริ่ม Shopee Express Delivery โดยใช้ไรเดอร์ของ Shopee Food มาเร่งการส่ง (แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่)

ตลาด E-Commerce ไทยในปี 2025 กำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ทั้งในแง่พฤติกรรมผู้บริโภค การแข่งขันระดับสูง และการปรับตัวของแพลตฟอร์ม การเข้าใจและนำเทรนด์เหล่านี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่ ห้ามนิ่งเฉย ถ้าไม่อยากพังในตลาดนี้

ที่มา: NationThailand
 

อย่ารอช้า! คลิกลงทะเบียน BigSeller วันนี้ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม และเริ่มต้นเส้นทางสู่การเป็นผู้ค้ารายใหญ่ได้เลย