โปรแกรม จัดการสต๊อกสินค้า คืออะไร ตัวช่วยลดต้นทุนที่ห้ามมองข้าม
Khun BigT 07 มิ.ย. 2024 03:26
ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีระบบในการจัดการหลังบ้านที่ดีอาจต้องประสบปัญหาที่น่าปวดหัวหลายอย่าง โดยเฉพาะระบบการสต๊อกสินค้าที่ทำให้หัวหมุน ไม่ว่าจะเป็นการตัดสต๊อก การนับสต๊อกสินค้า จำนวนสินค้าที่เหลือคงคลัง รวมไปจนถึงการวางแผนจัดซื้อสินค้าที่ต้องอิงข้อมูลจากระบบจัดการสต๊อกสินค้าหลังบ้านที่แม่นยำด้วย ยิ่งธุรกิจไหนที่มีสินค้าหลายรุ่น หลายไซส์ หลายรูปแบบก็ยิ่งทำให้ระบบจัดการสต๊อกสินค้ามีความซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการจัดการสต๊อกสินค้า คืออะไร? ประโยชน์และเคล็ดลับดี ๆ ในการจัดการสต๊อกสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรพลาด!
👉1.รับทราบข้อมูลสินค้าในคลังได้ทันที ร้านค้าจะรับรู้ถึงจำนวนและความเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิดได้แบบเรียลไทม์จึงสะดวกสบายต่อการเสนอขายสินค้าและการจัดซื้อสินค้า รวมทั้งพัฒนาให้ระบบสต๊อกสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
👉2.สามารถตรวจสอบสินค้าเน่าเสียและสินค้าหมดอายุได้อย่างง่ายดาย ทำให้ร้านค้าสามารถวางแผนการขายสินค้าได้ก่อนวันหมดอายุ
👉3.ป้องกันปัญหาสินค้าล้นสต๊อก ลดความเสี่ยงในการจัดซื้อสินค้าที่มีมากเกินความจำเป็นและสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย ทางร้านค้าจะรับรู้ได้และสามารถวางแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมเพื่อขายสินค้าออกก่อนที่สินค้าจะหมดอายุได้
👉4.ช่วยลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า ในการดูแลคลังสินค้ามักมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย หากมีระบบการจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี ร้านค้าจะสามารถประหยัดต้นทุนและนำเงินทุนไปใช้ในด้านอื่น ๆ ให้เหมาะสมได้
👉5.ช่วยยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ ด้วยระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ ร้านค้าจะมีความคล่องตัวและตระเตรียมสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ กลับมาซื้อซ้ำและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจได้
👉1.สินค้าที่มีเพียงพอ คือ สินค้าที่มีมากพอต่อการขายในช่วง 2-3 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สามารถจัดซื้อสินค้าเข้ามาตุนไว้ในคลังสินค้าได้พอดี
👉2.สินค้าที่ใกล้จะหมด คือ สินค้าที่มีน้อยเกินกว่ายอดขายและอาจจะมีไม่พอขายในช่วง 2-3 เดือน ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะต้องรีบทำการสั่งซื้อโดยเร็วที่สุด
👉3.สินค้าที่ขาดแคลน คือ สินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อกเลย ถึงแม้ว่าจะมีลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าชนิดนี้อยู่แต่ถ้าไม่สามารถรับมือกับสินค้าที่ใกล้จะหมดได้ทันเวลาก็จะกลายเป็นสินค้าที่ขาดแคลนและทำให้เสียโอกาสในการขายได้
👉4.สินค้าที่มีมากเกินความจำเป็น คือ สินค้าที่มีปริมาณมากกว่าการขายในช่วง 2-3 เดือน ทำให้เงินต้นทุนจมกับสินค้าและมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ความต้องการในตลาดที่สูงมาก
👉5.สินค้าที่ไม่มีการขายเลย คือ สินค้าที่ไม่มียอดขายเลยสักชิ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็น Dead stocks ที่ร้านค้าจะต้องวางแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมเพื่อขายสินค้าออกไปให้ได้
👉6.สินค้าที่ตัดสินใจจะไม่ขายต่อไป เช่น สินค้ารุ่นเก่า สินค้าที่ไม่มีการขายเลยฯลฯ
👉1.ใช้หลักการ First-In First-Out (FIFO) เพื่อขายสินค้าที่ได้รับมาก่อน โดยเฉพาะสินค้าที่มีวันหมดอายุ หรือเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งจะช่วยให้ขายสินค้าได้ก่อนที่สินค้านั้นจะกลายเป็นต้นทุนที่เสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
👉2.กำหนดจำนวนสินค้าที่ต้องมีในคลังสินค้าเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดซื้อสินค้าเข้ามา ให้มีสินค้าพร้อมขาย ไม่ขาดช่วง อีกทั้งยังช่วยให้การจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้ทันเวลาอีกด้วย
👉3.จัดหมวดหมู่สินค้าแยกประเภทอย่างชัดเจน โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภท การคัดแยกด้วย SKU จะช่วยให้ร้านค้าแยกสินค้าแต่ละแบบออกจากกันได้ ไม่สับสนและมีความแม่นยำมากกว่า
👉4.ตรวจสอบคลังสินค้าเป็นประจำ การนับจำนวนสินค้าและตรวจสอบสินค้าอยู่เสมอ ช่วยเพิ่มความแม่นยำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
👉5.การเลือกใช้เทคโนโลยีและระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย ระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพของสินค้าคงคลังได้อย่างเป็นระบบ สามารถวางแผนการขาย การจัดซื้อสินค้าและตรวจสอบจำนวนสินค้าได้แบบ Real Time มีประโยชน์ต่อตัวผู้ขายและตัวผู้ซื้อ
การจัดการสต๊อกสินค้า คืออะไร?
การจัดการสต๊อกสินค้า คือ กระบวนการในการควบคุมดูแลสินค้าในสต๊อกเพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าทั้งหมดเริ่มตั้งแต่การรับสินค้าเข้ามา การจัดเก็บสินค้า การจัดจำหน่าย การจัดส่ง การติดตามและการสั่งซื้อสินค้าเข้าไว้ที่คลังสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบการขาย ความเร็วในการขาย ปริมาณคำสั่งซื้อต่อครั้งและปริมาณคงคลัง การบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ ไม่ขาดแคลน หรือไม่ล้นสต๊อกจนเกินไปประโยชน์ของการจัดการสต๊อกสินค้า
การจัดการสต๊อกสินค้า เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารร้านค้าที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนจากการสั่งซื้อสินค้าให้มีความเพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณการขายมากที่สุด👉1.รับทราบข้อมูลสินค้าในคลังได้ทันที ร้านค้าจะรับรู้ถึงจำนวนและความเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิดได้แบบเรียลไทม์จึงสะดวกสบายต่อการเสนอขายสินค้าและการจัดซื้อสินค้า รวมทั้งพัฒนาให้ระบบสต๊อกสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
👉2.สามารถตรวจสอบสินค้าเน่าเสียและสินค้าหมดอายุได้อย่างง่ายดาย ทำให้ร้านค้าสามารถวางแผนการขายสินค้าได้ก่อนวันหมดอายุ
👉3.ป้องกันปัญหาสินค้าล้นสต๊อก ลดความเสี่ยงในการจัดซื้อสินค้าที่มีมากเกินความจำเป็นและสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย ทางร้านค้าจะรับรู้ได้และสามารถวางแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมเพื่อขายสินค้าออกก่อนที่สินค้าจะหมดอายุได้
👉4.ช่วยลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า ในการดูแลคลังสินค้ามักมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย หากมีระบบการจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี ร้านค้าจะสามารถประหยัดต้นทุนและนำเงินทุนไปใช้ในด้านอื่น ๆ ให้เหมาะสมได้
👉5.ช่วยยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ ด้วยระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ ร้านค้าจะมีความคล่องตัวและตระเตรียมสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ กลับมาซื้อซ้ำและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจได้
แบ่งสถานะสินค้าคงคลังหรือสต๊อกสินค้าที่ทำให้บริหารร้านค้าได้ง่ายขึ้น
ในระบบจัดการสต๊อกสินค้า สามารถแบ่งสถานะสินค้าคงคลังได้เป็น 6 แบบ เพื่อให้สามารถจัดการกับสินค้าได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด👉1.สินค้าที่มีเพียงพอ คือ สินค้าที่มีมากพอต่อการขายในช่วง 2-3 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สามารถจัดซื้อสินค้าเข้ามาตุนไว้ในคลังสินค้าได้พอดี
👉2.สินค้าที่ใกล้จะหมด คือ สินค้าที่มีน้อยเกินกว่ายอดขายและอาจจะมีไม่พอขายในช่วง 2-3 เดือน ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะต้องรีบทำการสั่งซื้อโดยเร็วที่สุด
👉3.สินค้าที่ขาดแคลน คือ สินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อกเลย ถึงแม้ว่าจะมีลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าชนิดนี้อยู่แต่ถ้าไม่สามารถรับมือกับสินค้าที่ใกล้จะหมดได้ทันเวลาก็จะกลายเป็นสินค้าที่ขาดแคลนและทำให้เสียโอกาสในการขายได้
👉4.สินค้าที่มีมากเกินความจำเป็น คือ สินค้าที่มีปริมาณมากกว่าการขายในช่วง 2-3 เดือน ทำให้เงินต้นทุนจมกับสินค้าและมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ความต้องการในตลาดที่สูงมาก
👉5.สินค้าที่ไม่มีการขายเลย คือ สินค้าที่ไม่มียอดขายเลยสักชิ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็น Dead stocks ที่ร้านค้าจะต้องวางแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมเพื่อขายสินค้าออกไปให้ได้
👉6.สินค้าที่ตัดสินใจจะไม่ขายต่อไป เช่น สินค้ารุ่นเก่า สินค้าที่ไม่มีการขายเลยฯลฯ
5 เคล็ดลับจัดการสต๊อกสินค้า
การจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี จะช่วยป้องกันสินค้าเน่าเสีย หรือขายไม่ออกและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าได้ เคล็ดลับการจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี ได้แก่👉1.ใช้หลักการ First-In First-Out (FIFO) เพื่อขายสินค้าที่ได้รับมาก่อน โดยเฉพาะสินค้าที่มีวันหมดอายุ หรือเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งจะช่วยให้ขายสินค้าได้ก่อนที่สินค้านั้นจะกลายเป็นต้นทุนที่เสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
👉2.กำหนดจำนวนสินค้าที่ต้องมีในคลังสินค้าเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดซื้อสินค้าเข้ามา ให้มีสินค้าพร้อมขาย ไม่ขาดช่วง อีกทั้งยังช่วยให้การจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้ทันเวลาอีกด้วย
👉3.จัดหมวดหมู่สินค้าแยกประเภทอย่างชัดเจน โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภท การคัดแยกด้วย SKU จะช่วยให้ร้านค้าแยกสินค้าแต่ละแบบออกจากกันได้ ไม่สับสนและมีความแม่นยำมากกว่า
👉4.ตรวจสอบคลังสินค้าเป็นประจำ การนับจำนวนสินค้าและตรวจสอบสินค้าอยู่เสมอ ช่วยเพิ่มความแม่นยำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
👉5.การเลือกใช้เทคโนโลยีและระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย ระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพของสินค้าคงคลังได้อย่างเป็นระบบ สามารถวางแผนการขาย การจัดซื้อสินค้าและตรวจสอบจำนวนสินค้าได้แบบ Real Time มีประโยชน์ต่อตัวผู้ขายและตัวผู้ซื้อ
ฟีเจอร์จัดการสต๊อกสินค้าของ BigSeller
BigSeller มีฟีเจอร์การจัดการสต๊อกสินค้าที่สามารถตรวจสอบได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการอัปเดตสต๊อกสินค้าจากหลายแพลตฟอร์มชั้นนำได้แบบเรียลไทม์ สามารถจัดการสินค้าในคลังและจัดซื้อสินค้าเข้าคลังได้อย่างแม่นยำ ป้องกันปัญหาการขายเกิน หรือของขาดสต๊อก นอกจากการจัดการสต๊อกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าแล้ว ยังรวมไปถึงการวางแผนเส้นทางในการหยิบสินค้าเพื่อความคล่องตัวในการแพ็คสินค้าและจัดส่งสินค้าได้ทันเวลา แน่นอนว่าระบบการจัดการสต๊อกสินค้าของ BigSeller ที่มีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพในการบริหารร้านค้า ทั้งระบบหน้าบ้านและหลังบ้าน ช่วยประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทั้งต้นทุน สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้ในระยะยาวสรุปเรื่องการจัดสต๊อกสินค้า
ระบบจัดการสต๊อกสินค้านับว่าเป็นระบบที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจในทุกด้าน ทั้งการจัดซื้อสินค้าเพื่อให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า การแก้ไขปัญหาต้นทุนจมกับการตุนสินค้าไว้ล้นสต๊อก หรือสินค้าที่ขายไม่ได้เลย ป้องกันปัญหาสินค้าเน่าเสีย หรือหมดอายุ รวมทั้งการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้สามารถขายสินค้าได้อย่างเหมาะสม นี่คือสิ่งสำคัญในระบบบริหารจัดการที่ดีที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้นนั่นเอง